วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติกระโดดสูง

ประวัติกระโดดสูง


การกระโดดสูงเป็นกีฬาประเภทลานที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวในการกระโดดมากที่สุด จุดมุ่งหมายในการกระโดดคือการกระโดดให้สูงที่สุดลอยตัวข้ามไม้พาดไม่ให้ไม้พาดหล่นสรุปได้ว่า ขั้นตอนการกระโดดสูงคือ การกระโดดจากพื้นอย่างสูง, ระยะการลอยตัวในอากาศ และ ระยะลงพื้น ทางเข้า SBOBETใครที่กระโดดได้ไกลที่สุดและถูกกติกาจะถือเป็นผู้ชนะ
คุณสมบัติที่ดีของนักกระโดดสูง
1. ควรมีรูปร่างสูง น้ำหนักตัวน้อย มีสปริงข้อเท้าดี
2. กล้ามเนื้อขามีความแข็งแรง วิ่งเร็ว
3. มีร่างกายอ่อนตัวดี และมีความเข้าใจในเทคนิคและทักษะการฝึกซ้อมได้ดี
การกระโดดสูงมีทักษะ 2 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบกรรไกรเฉียง
2. ท่ากระโดดแบบ ฟอสบูรี่ ฟรอบ ในปัจจุบันเป็นท่ากระโดดสูงที่นิยมกันมากที่สุดในการแข่งขัน ท่าฟอสบูรี่ ฟรอบ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักกรีฑากระโดดไกลที่ชื่อ ดิ๊ก ฟอสบูรี่ ชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นการใช้ท่านี้เป็นครั้งแรก ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ที่ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี ค.ศ. 1968 และได้เหรียญทองจากการแข่งขันกระโดดสูง ด้วยท่าแอ่นหลังข้ามไม้นี้ สถิติ 2.24 เมตร ส่วนคำว่า ฟรอบ เป็นเสียงเบาะเมื่อนักกีฬาทิ้งตัวลงบนเบาะรองรับ
การฝึกฝนทักษะการกระโดดสูง อาจทำได้โดยกระโดดข้ามกล่องแบบขากรรไกรต่อเนื่อง ประมาณ 3 กล่อง หรือกระโดดข้ามหนังยางลงบนเบาะ หรือ กระโดดโดยเพิ่มความสูงของกล่องขึ้นเรื่อย ๆ และกระโดดข้ามหนังยางลงบนเบาะ
กติกาการแข่งขันกีฬากระโดดสูง
1. นักกีฬาต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว
2. การกระโดดจะไม่เป็นผลเมื่อ ไม้พาดหล่น หรือไม่ได้กระโดดพ้นไม้พาด และส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นหรือเบาะในระหว่างเสากระโดดสูงทั้งสองหรือภายนอกเสาก็ตาม
3. นักกีฬาอาจเริ่มกระโดดในขั้นความสูงใดก็ได้ในการแข่งขัน และจะเลือกกระโดดในขั้นใดขั้นหนึ่งต่อมาได้ตามความต้องการ การกระโดดที่ไม่ได้ผลติดต่อกัน 3 ครั้ง ไม่ว่าความสูงระดับใด ก็จะหมดสิทธิ์ที่จะกระโดดต่อไป
4. การกระโดดแต่ละครั้งต้องกระโดดให้เสร็จสิ้นภายใน 1 นาที 30 วินาที
แหล่งที่มา http://www.pghanesthesiology.com/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87/

ประวัติตะกร้อ ที่มาที่ไป กีฬาตะกร้อ

ประวัติตะกร้อ ที่มาที่ไป กีฬาตะกร้อ
        



 ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
        ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
         ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
         ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
          ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด
ข้อมูลจาก
http://www.yimsiam.com
ประวัติ ในประเทศไทย
   ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก ) 
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ .2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “ 

วิวัฒนาการการเล่น
    การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
– ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
– ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

กติกากีฬาตะกร้อลอดห่วง

ของ สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ฉบับปรับปรุง-แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ให้เริ่มใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547
____________________________________________________
1. สนามแข่งขัน
สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 4เซนติเมตร มีห่วงชัยแขวนอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของวงกลม โดยเชือกที่แขวนห่วง มีความยาวจากรอกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ห่วงชัย
ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากภายใน กว้าง 45 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้ จะทำด้วย โลหะ หวาย หรือไม้ ก็ได้ แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรง และหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่มแล้ว วัดโดยรอบไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีถุงตาข่ายทำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง
ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้
– ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง                ความสูงของห่วงชัย   5.50 เมตร
– ประเภทประชาชน                                                           ความสูงของห่วงชัย    5.70 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อให้สานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
– ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม
– ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม
4. ให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน
5. กรรมการผู้ตัดสิน
ต้องมีผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ให้ทำหน้าที่ บันทึกคะแนน, รักษาเวลา, ประกาศคะแนน และผู้ชี้ขาด
6. ทีมที่เข้าแข่งขัน
6.1 ให้ส่งรายชื่อเข้าทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 8 คน มีผู้เล่นเข้าทำการแข่งขัน 7 คน หากทีมใดมีผู้เล่นไม่ถึง 6 คน ไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในครั้งนั้น โดยให้ส่งรายชื่อก่อนการแข่งขัน 30 นาที
6.2 ในระหว่างแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ซึ่งจะเปลี่ยนเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีม ต้องยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย) ซึ่งแต่ละทีมสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าไปใหม่ จะต้องไม่เล่น ในท่าที่ผู้เล่นเดิมทำครบแล้ว 2 ครั้ง และผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไปแล้ว จะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัวกลับคืนได้อีก
6.3 ผู้เล่นทุกคนต้องติดหมายเลขที่เสื้อด้านหน้า และด้านหลังอย่างเรียบร้อยด้วยตัวเลขที่อ่านง่าย สีของหมายเลขต้องตัดกับสีของเสื้อ หมายเลขด้านหลังต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยผู้เล่นทีมเดียวกันจะใช้หมายเลขซ้ำกันไม่ได้
6.4 เครื่องแต่งกายของผู้เล่น
สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ส่วนผู้หญิง ให้สวมเสื้อยืดมีแขน และกางเกงขาสั้นระดับเข่า สวมใส่รองเท้าพื้นยาง (ถุงเท้าด้วย) กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมใส่ชุดวอร์มแข่งขันได้
6.4.1 ส่วนต่างๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.4.2 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่น ไม่อนุญาตให้ใช้
6.5 เมื่อถึงเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะเริ่มจับเวลา โดยให้ถือเป็นเวลาของการแข่งขันของทีมนั้นๆ หากทีมนั้นพร้อมเมื่อใด ก็ให้ทำการแข่งขันตามเวลาที่เหลืออยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถลงสนามแข่งขันหรือยังไม่พร้อมทำการแข่งขัน ให้ทีมนั้นหมดสิทธิ์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ โดยไม่มีอุทธรณ์
7. กำหนดเวลาการแข่งขัน
7.1 ให้ใช้เวลาในการแข่งขัน 40 นาที เมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งเวลา (20 นาที) กรรมการต้องประกาศให้ทราบทั้งเวลาและคะแนนที่ทำได้
7.2 ผู้เข้าแข่งขันในทีมใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างการแข่งขันอยู่ และไม่สามารถทำการแข่งขัน ให้ขออนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสินออกจากสนามชั่วคราวได้
7.3 หากนักกีฬาทีมที่บาดเจ็บนั้น จะกลับเข้าทำการแข่งขันต่อไปอีก ให้ขออนุญาตต่อกรรมการผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ต้องให้เป็นไปตาม ข้อ 6.1
8. การแข่งขัน
8.1 ให้ผู้เล่น ยืนเป็นรูปวงกลม เว้นระยะห่างกันพอสมควร ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นจะสลับเปลี่ยนที่กันก็ได้
8.2 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งโยนลูกตะกร้อให้แก่คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน ต่อจากนั้นไป เมื่อลูกตาย ผู้เล่นใดถูกลูกก่อนจะต้องเป็นผู้โยน และต้องโยนให้คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน เพื่อเล่นต่อไปทุกคราว โดยผู้โยนและผู้รับลูกโยน ต้องอยู่นอกวงกลม
8.3 เมื่อลูกตายแล้ว จะเปลี่ยนลูกตะกร้อก็ได้
8.4 ในการโต้ลูก ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้มือ ถ้าผู้เล่นใช้มือจับลูก ผู้เล่นที่ใช้มือจับลูกต้องโยนลูกให้คู่ของตนเตะแล้วปล่อยให้ลูกตายก่อน จึงนำลูกมาโยนเพื่อเล่นต่อไปได้
8.5 กรณีต่อไปนี้ให้ถือเป็นลูกตาย ให้โยนใหม่
(1) ลูกตกถึงพื้นสนาม
(2) ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นเตะลอดบ่วงมือ แล้วลูกกระทบบ่วงมือนั้น
(3) ลูกติดกับห่วงชัย
(4) ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ตะกร้อลอดห่วง
8.6 ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่เข้าห่วง หรือลูกตะกร้อที่หวายขาดไปเกี่ยวกับตาข่าย และค้างอยู่ภายในรัศมีวงกลมห่วงชัย ให้กรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนตามลักษณะของท่าที่กำหนดในข้อ 8.เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้เล่นโต้ลูกโยนไปเข้าห่วง
(2) ผู้เล่นถูกลูกเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
(3) ลูกเข้าห่วงแล้วกระดอนออก
(4) ผู้เล่นคนใดเตะลูกเข้าห่วง ซ้ำท่าเกินกว่า 2 ครั้ง
9. การให้คะแนนของท่าการเล่น
ลำดับ

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
18
20
21
22
23
24
25
26
27

ท่าการเล่น
ลูกด้านหน้า
ลูกหน้าเท้า (ลูกแป)
ลูกหลังเท้า
ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า
ลูกแข้ง
ลูกเข่า
ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า
ลูกไหล่
ลูกศีรษะ (โหม่ง)
ลูกด้านข้าง
ลูกข้าง
ลูกข้างบ่วงมือ
ลูกไขว้
ลูกไขว้บ่วงมือ
ลูกส้นไขว้
ลูกส้นไขว้บ่วงมือ
ลูกกระโดดไขว้ (ขึ้นม้า)
ลูกกระโดดไขว้บ่วงมือ (ขึ้นม้าบ่วงมือ)
ลูกตัดไขว้
ลูกด้านหลัง
ลูกศอกหลัง
ลูกตบหลัง
ลูกข้างหลัง
ลูกข้างหลังบ่วงมือ
ลูกแทงส้นตรงหลัง
ลูกแทงส้นตรงหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน
ลูกกระโดดพับหลังตบ
ลูกกระโดดพับหลังตบบ่วงมือ
คะแนน

10
15
30
15
15
20
10
10
10
15
15
25
20
30
10
15
25
15
20
20
25
30
40
30
50
40
50
10. การตัดสิน
10.1 ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด ทีมนั้นชนะ
10.2 ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ทีมใดได้จำนวนครั้งที่เข้าห่วงมากกว่า ทีมนั้นชนะ
10.3 ถ้าได้คะแนน และจำนวนครั้งที่เข้าห่วงเท่ากัน ทีมใดได้เข้าห่วงด้วยท่าที่คะแนนสูง
กว่า ทีมนั้นชนะ
10.4 ถ้าทั้งหมดดังกล่าวเท่ากัน ให้เป็นไปตามระเบียบของการแข่งขันครั้งนั้นๆ

แหล่งที่มา https://kruchok.wordpress.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD/

ประวัติความเป็นมาของกีฬาฟุตบอล

ประวัติความเป็นมาของกีฬาฟุตบอล







ฟุตบอล (Football) หรือ ซอกเกอร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีคนสนใจในการเล่น และเข้าชมสูงที่สุดของโลก แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่า กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดมาจากชนชาติใด โดยเฉพาะเป็นกีฬายอดนิยมสูงสุดของโลก ก็ยิ่งทำให้ทุกๆ ประเทศมีวิวัฒนาการทางการกีฬา ยืนยันว่าเป็นกีฬาที่เกิดจากประเทศของตนทั้งสิ้น แต่ประเทศที่อ้างว่าเป็นกีฬาที่เกิดขึ้นจากตนเอง ก็ไม่สามารถหาหลักฐาน  ยืนยัน จึงเพียงแต่กล่าวว่า น่าจะเป็นไปได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้ จะเป็นจริงหรือไม่อย่างใดนั้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากที่ใด สรุปได้ดังนี้คือ
เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ในประเทศจีนมีการเล่นเกมอย่างหนึ่ง เรียกว่า ซูจู (Tsu Chu) ซึ่งหมายถึง เกมที่ใช้เท้าเตะลูกบอล โดยมากการเล่นเกมนี้ จะเป็นการเล่นถวายพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ชนะจะได้รางวัลอย่างงาม ส่วนผู้แพ้บางครั้งจะถูกลงโทษด้วยการเฆี่ยน
ชาวญี่ปุ่นก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่มีเกมการเล่นในลักษณะที่ใช้เท้าเล่น เรียกว่า เกมาริ (Kemari) โดยมีการกำหนดขอบเขต และมุมของสนามด้วยต้นสน ต้นเชอรี่ ต้นเมเปิล หรือต้นวิลโล เป็นแนวเขตธรรมชาติ
ชาวโรมันในสมัยโบราณมีเกมการเล่นชนิดหนึ่งเรียกว่าฮาร์พาสเตียม (Harpastium) โดยใช้กระเพาะปัสสาวะของหมูเอามาสูบลมแล้วนำมาเตะกัน นอกจากจะเตะแล้วอาจใช้การผลัก ถือ วิ่ง ชก ขว้างปา ให้ลูกบอลไปถึงที่หมายของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ ซึ่งคล้ายกับกีฬารักบี้ฟุตบอล ในสมัยปัจจุบัน
ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี มีเกมคล้าย ๆ กันนี้ เรียกว่า กัลโช (Calcio) โดยเล่นกันที่เปียซซ่า เดลลา โครเก (Piazza della Croce) มีผู้เล่นข้างละ 27 คน แต่ละทีมจะสวมชุดเครื่องแต่งกายประจำถิ่นหรือหมู่บ้านนั้น ๆ ตามความนิยมในสมัยนั้น ปัจจุบันเกมนี้ยังคงได้รับการฟื้นฟูจากทางการของอิตาลีจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน
เชื่อกันว่าชาวโรมันเป็นผู้นำเกมการเล่นแบบเตะลูกบอล(Harpastium) มายังประเทศอังกฤษ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด จนกระทั่งหลายศตวรรษ หลังจากโรมันได้จากเกาะอังกฤษไปแล้ว ในประมาณปี พ..1343 กองทัพเดนมาร์ค ได้ยกเข้าโจมตีที่มั่นของอังกฤษที่เมืองคิงสตัน (Kingston) นักประวัติศาสตร์บางท่านบอกว่าเป็นที่มั่นเมืองเชสเตอร์ (Chester) ทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่มั่นดังกล่าว ได้ต่อสู้เป็นสามารถ ในที่สุดเมื่อได้รับการสนับสนุนจากเมืองหลวง คือ ลอนดอน (London) ก็สามารถตีกองทัพเดนมาร์คแตกพ่ายไป แม่ทัพเดนมาร์คถูกฆ่าตาย และทหารอังกฤษได้ตัดเอาศีรษะของเขามาเตะเล่นกันไปรอบ ๆ ค่ายทหาร วันที่อังกฤษได้รับชัยชนะนั้น คือ วันมาดิกราส์ (Shrove Tuesday) ซึ่งต่อมาถือเป็นวันสำคัญแห่งชาติอังกฤษไป เกมการเตะศีรษะคนก็เปลี่ยนมาเป็นเกมการเตะลูกบอลที่ทำด้วยหนัง กลายเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับฉลองในเทศกาลวันสำคัญดังกล่าว และแพร่หลายไปตามชนบท คนทั้งหมู่บ้านออกมาเตะฟุตบอลเล่นกัน ผู้เล่นสามารถใช้ทุกส่วนสัมผัสลูกบอลได้ ประตูซึ่งอาจจะเป็นประตูเมือง หรือต้นไม้ จะอยู่ห่างกันหลายร้อยเมตร เป็นการเล่นที่รุนแรง (ถูกนำมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายและบาดเจ็บต่อผู้เล่นเป็นจำนวนมาก จนบางครั้งดูเป็นความโหดร้ายป่าเถื่อน จนถึงขึ้นการจลาจลบ่อย ๆ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ และพระเจ้า     ริชาร์ดที่ จึงได้ทรงห้ามไม่ให้มีการเล่นเกมฟุตบอลที่โหดร้ายนี้อีกต่อไป แต่ก็ยังมีการเล่นอยู่ประปราย
ความรุนแรงของการเล่นฟุตบอลค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่งปี พ..2243 โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ เช่น โรงเรียนรักบี้ (Rugby) และโรงเรียนอีตัน (Eton) ก็นำเกมฟุตบอลมาฟื้นฟู มีการพยายามกำหนดกฎ กติกาการเล่น แต่ก็ยังไม่เป็นมาตรฐาน เพราะแต่ละแห่งจะสร้างกติกา เพื่อประโยชน์ของทีมตนเองทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎกติกาการเล่นของแต่ละแห่งทำให้นักกีฬาใหม่ขึ้นมาอยู่ ลักษณะ คือ ไปในแนวทางรักบี้ฟุตบอล (Rugby Football) และฟุตบอล (Soccer or Association Football)
ปี พ..2343 กีฬาฟุตบอลได้รับการพัฒนาให้มีการเล่นที่สุภาพมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ..2406 โดยการรวมกลุ่มของสโมสรฟุตบอลในลอนดอน 11 แห่ง เพื่อร่วมกันปรับปรุง แก้ไข กฎ กติกา การเล่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันอันถือว่าเป็นการเริ่มต้นการเล่นกีฬาฟุตบอลในรูปแบบปัจจุบัน
การเล่นฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเผยแพร่ของทหารบกและทหารเรือของอังกฤษ ซึ่งขณะนี้มีประเทศที่เป็นอาณานิคมอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง จึงได้มีการก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (The Federation International de Football Association) หรือเรียกว่า ฟีฟ่า (F.I.F.A.) โดยมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศสมาชิกก่อตั้ง ประเทศ ปัจจุบันนี้มีประเทศต่าง ๆ สมัครเป็นสมาชิกเกือบ 200 ประเทศ
ปัจจุบันฟุตบอลถือได้ว่าเป็นกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่ง มีการจัดการแข่งขันรายการต่าง ๆ มากมาย ทั้งระดับภายในประเทศ ระดับนานาชาติ และ ระดับโลก การแข่งขันที่ถือว่าเป็นสุดยอดของรายการแข่งขันฟุตบอล ได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลโลก (World Cup)  ซึ่งจะมีการแข่งขันทุกๆ   ปีต่อครั้ง โดยเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกที่ประเทศอุรุกวัย เมื่อปี พ.. 2473 และอุรุกวัยเป็นประเทศแรกที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก ได้ครองถ้วย จูล ริเมต์ (Jules Rimet) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้น และประกอบกับท่านเป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลโลก หรือ F.I.F.A. ในขณะนั้นด้วย ต่อมาถ้วยใบนี้ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศบราซิล เมื่อบราซิลเป็นประเทศแรกที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกครบ ครั้ง เมื่อปี พ..2513 ที่ประเทศเม็กซิโก เป็นเจ้าภาพ F.I.F.A.      จึงได้จัดทำถ้วยใบใหม่เพื่อจัดการแข่งขันต่อไป ซึ่งทวีปเอเชียได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.. 2545 ณ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และ ปี พ.ศ. 2549  ประเทศเยอรมัน ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน  มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันรอบสุดท้าย  32  ทีม จากทุกทวีป
นอกจากการแข่งขันฟุตบอลโลกแล้ว ยังมีการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติที่น่าสนใจ และมีชื่อเสียงหลายรายการ ดังนี้
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติของทวีปยุโรป แข่งขันทุก ๆ ปีต่อครั้ง
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติของทวีปอเมริกาใต้
ฟุตบอลเยาวชน อายุไม่เกิน 19 ปี
ฟุตบอลโอลิมปิกฤดูร้อน
                ฯลฯ
ประเทศที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับฟุตบอล มักจะอยู่แถบทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ แต่ละประเทศจะจัดดำเนินการแข่งขันรายการฟุตบอลภายในประเทศเป็นระบบอาชีพ (Professional Football) โดยจัดตั้งเป็นสโมสร (Club) มีสมาชิก (Fan-Club) ให้การสนับสนุนและคอยให้กำลังใจผู้เล่นของสโมสรที่ไปทำการแข่งขันสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงในทวีปยุโรป มีหลายสโมสรที่น่าสนใจ ดังนี้
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ลิเวอร์พูล อาร์เซนัล นิวคาสเซิล จากประเทศอังกฤษ
เอ.ซี มิลาน  จูเวนตุส อินเตอร์มิลาน จากประเทศอิตาลี
บาเยิร์น มิวนิค เอฟซี โคโลญ ซอลเก้ 04 จากประเทศเยอรมัน
บาร์เซโลน่า เรียล แมดริด คอรุนยา  จากประเทศสเปน
อาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม  พีเอสวี ไฮนโอเพ่น จากประเทศฮอลแลนด์
เอฟซี ปอร์โต  เบนฟิก้า จากประเทศโปรตุเกส
การจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี มีดังนี้
ฟุตบอล กัลโช ซีรีส์ เอ (Calcio Series A) ของ อิตาลี
ฟุตบอล พรีเมียร์ลีก (Primier League) ของ อังกฤษ
ฟุตบอล บุนเดสลิกา (Bundesliga) ของ เยอรมัน
สโมสรในทวีปต่าง ๆ ยังมีการนำเอาแชมป์ของสโมสรในประเทศมาแข่งขันกันเพื่อชิงความเป็นหนึ่งของสโมสรในแต่ละทวีปด้วย ในทวีปยุโรปจัดการ แข่งขัน ดังนี้
ฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์ยุโรป (European Champion Clubs Cup) เป็นการเอาแชมป์สโมสรดิวิชั่น ของประเทศมาแข่งขันกัน
ฟุตบอลยูฟ่าคัพ (U.E.F.A. Cup) เป็นการนำเอาแชมป์ฟุตบอลลีกคัพ ของแต่ละประเทศ และอัน 1, 2 หรือ ของฟุตบอลดิวิชั่น ของแต่ละประเทศมาแข่งขันกัน
ฟุตบอลคัพ วินเนอรส์ คัพ (Cup-Winners-Cup) เป็นการนำเอาแชมป์ฟุตบอล เอฟ.เอ.คัพ ของแต่ละประเทศมาแข่งขันกัน
สำหรับฟุตบอลในทวีปเอเชีย มีรายการฟุตบอลอาชีพภายในประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ ฟุตบอล เจ.ลีก ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวบรวมเอานักเตะที่มีชื่อเสียงของโลก ร่วมกับนักเตะที่เด่น ๆ ของญี่ปุ่นเองมาทำการแข่งขันเป็นรายการฟุตบอลอาชีพ นอกจากนี้ ก็มีรายการฟุตบอลในประเทศเกาหลีใต้ และจีน ด้วย
ในสหรัฐอเมริกา หลังจากล้มเหลว ในการจัดตั้งสโมสรและจัดการ แข่งขันฟุตบอลลีก เมื่อปี พ..2513 ต่อมาเมื่อสหรัฐเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก (World Cup) ในปี พ..2537     ก็ได้มีการรื้อฟื้นการแข่งขันฟุตบอลลีกขึ้นใหม่ ภายใต้ชื่อว่า เมเจอร์ ลีก (Major Leaque) เริ่มทำการแข่งขันในปี พ..2539
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/170590
แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/170590